สวัสดีแฟนเพจศูนย์ภาษาฯ ทุกท่านค่ะ ถ้าเราเห็นด้วยกับสิ่งที่เพื่อนหรือคู่สนทนาของเราพูด เราจะตอบรับว่าอย่างไรดีคะ Conversation Strategy ในระดับ A1 จะพาเราไปรู้จักกับวลีที่เราใช้ตอบรับในกรณีที่เราเห็นด้วยกับสิ่งที่คู่สนทนาของเราพูดถึงกันค่ะ

Release Date : 27-07-2022 00:00:00
สวัสดีแฟนเพจศูนย์ภาษาฯ ทุกท่านค่ะ ถ้าเราเห็นด้วยกับสิ่งที่เพื่อนหรือคู่สนทนาของเราพูด เราจะตอบรับว่าอย่างไรดีคะ Conversation Strategy ในระดับ A1 จะพาเราไปรู้จักกับวลีที่เราใช้ตอบรับในกรณีที่เราเห็นด้วยกับสิ่งที่คู่สนทนาของเราพูดถึงกันค่ะ

เราอาจจะคุ้นเคยกับ “Me too” ใช่ไหมคะ เราจะพูดวลี “Me too” เมื่อเราเห็นด้วย (agree) กับประโยคบอกเล่า (affirmative statement) นั้น ๆ ค่ะ ซึ่ง “Me too” ก็จะมีความหมายประมาณว่า “ฉันเห็นด้วย” นั่นเองค่ะ เราลองมาดูตัวอย่างจากอินโฟรกราฟิกแผ่นแรกกันนะคะ
 A: I always drink black coffee in the morning. (ฉันดื่มกาแฟดำทุกเช้า)
 B: Me too! (ฉันด้วย = ฉันดื่มกาแฟดำทุกเช้าเช่นกัน)
 A: I love reading comic books. (ฉันชอบอ่านหนังสือการ์ตูน) 
 B and C: Yeah, me too. (ฉันด้วย ๆ = ฉันก็ชอบอ่านหนังสือการ์ตูนเหมือนกัน)
แต่ถ้าเราอยากจะบอกว่าเราเห็นด้วย (agree) กับประโยคเชิงปฏิเสธ (negative statement) เราจะไม่พูดคำว่า “Me too” ค่ะ แต่เราจะพูดว่า “Me neither” แทน ความหมายเหมือนเดิมเลยค่ะ ก็คือ “ใช่ ฉันเห็นด้วย” ประโยคปฏิเสธ หรือ negative statement จะมีคำว่า not อยู่ในนั้นค่ะ แต่ถ้าไม่มีคำว่า not ปรากฏอยู่ก็จะเป็นประโยคที่แสดงถึงความขัดแย้งค่ะ เราลองมาดูตัวอย่างจากอินโฟรกราฟิกแผ่นที่สองกันนะคะ
 A: I never drink black coffee in the morning. (ฉันไม่เคยดื่มกาแฟดำในตอนเช้า)
 B: Me neither! I usually drink iced chocolate. (ฉันก็เหมือนกัน ปกติฉันดื่มช็อกโกแลตเย็นน่ะ)
จะสังเกตได้ว่าในประโยคนี้แม้จะไม่มีคำว่า not ก็จริง แต่ก็มีคำว่า never (ไม่เคย) ซึ่งทำหน้าที่เป็นคำกริยาวิเศษณ์บอกความถี่ (adverb of frequency) ชี้ให้เห็นว่าคุณ A หรือผู้พูดประโยคนี้ไม่เคยดื่มกาแฟดำในตอนเช้าเลย คุณ B ที่เห็นด้วยกับคุณ A จึงตอบมาว่า Me neither แทนที่จะเป็น Me too เพราะประโยคนี้สื่อความหมายไปในทางปฏิเสธ หรือ negative นั่นเองค่ะ
 A: I don't like to read comic books. (ฉันไม่ชอบอ่านหนังสือการ์ตูน)
 B and C: Me neither! (ฉันด้วย! = ฉันก็ไม่ชอบอ่านหนังสือการ์ตูนเหมือนกัน)
ในตัวอย่างนี้เป็นประโยคปฏิเสธชัดเจนค่ะ เพราะมี don’t like ก็คือ “ไม่ชอบ” ปรากฏอยู่ เด็กชายสองคนที่ไม่ชอบอ่านหนังสือการ์ตูนเหมือนเด็กชาย A ก็เลยตอบเป็นเสียงเดียวกันว่า Me neither! หรือว่า “ไม่ชอบ” นั่นเองค่ะ
ขอเน้นย้ำอีกครั้งนะคะว่า เราจะพูดวลี “Me neither” เมื่อเราเห็นด้วยกับประโยคเชิงปฏิเสธเท่านั้นค่ะ
ทุกท่านน่าจะพอเข้าใจถึงความแตกต่างระหว่าง Me too และ Me neither รวมถึงวิธีการใช้งานกันแล้วใช่ไหมคะ ในอนาคตเมื่อท่านเห็นด้วยกับสิ่งที่คู่สนทนาของท่านพูดถึง อย่าลืมนำ Me too และ Me neither ไปใช้เพื่อให้บทสนทนาของท่านมีมิติมากขึ้นค่ะ