ท่านเคยเจอปัญหาเวลาที่จับประเด็นของคู่สนทนาไม่ทัน ไม่ได้ยินหรือไม่เข้าใจว่าผู้พูดหมายถึงสิ่งใดไหมคะ วันนี้ศูนย์ภาษาทหารเรือจะมานำเสนอกลยุทธ์ในการสนทนาที่ใช้ในการแก้ปัญหาเหล่านี้โดยใช้ประโยคต่าง ๆ ค่ะ

Release Date : 09-08-2022 00:00:00
ท่านเคยเจอปัญหาเวลาที่จับประเด็นของคู่สนทนาไม่ทัน ไม่ได้ยินหรือไม่เข้าใจว่าผู้พูดหมายถึงสิ่งใดไหมคะ วันนี้ศูนย์ภาษาทหารเรือจะมานำเสนอกลยุทธ์ในการสนทนาที่ใช้ในการแก้ปัญหาเหล่านี้โดยใช้ประโยคต่าง ๆ ค่ะ

ก่อนอื่นเรามาอ่านบทสนทนาระหว่างคุณแมรี่และคุณจอห์น ซึ่งเป็นเพื่อนร่วมงานกันนะคะ
Mary: I’ve just gotten back from my vacation in Australia.
(ฉันเพิ่งกลับมาจากการพักร้อนที่ออสเตรเลียล่ะ)
John: Excuse me? did you say Australia or Austria?
(โทษที เมื่อกี้คุณพูดว่า ออสเตรเลีย หรือ ออสเตรีย นะ)
Mary: Australia. I saw a lot of koalas.
(ออสเตรเลีย ฉันเจอหมีโคอาล่าเยอะแยะเลย)
John: I’m sorry, you saw a lot of what? 
(ผมขอโทษ คุณเห็นอะไรเยอะแยะนะ?)
จากบทสนทนาจะเห็นได้ว่าคุณจอห์นฟังคุณแมรี่ไม่ค่อยจะรู้เรื่องเท่าไหร่นะคะ แต่คุณจอห์นก็ได้พยายามถามคำถามเพื่อทำความเข้าใจสิ่งที่คุณแมรี่พูดแล้ว โดยคุณจอห์นได้ใช้การ ‘Check Information’ หรือการเช็คข้อมูลเมื่อไม่ได้ยิน หรือไม่เข้าใจสิ่งที่คู่สนทนาพูดเพื่อให้คู่สนทนาช่วยทวนข้อมูล หรืออธิบายเพิ่มเติมด้วยประโยค “Excuse me? Did you say Australia or Austria?” (โทษที เมื่อกี้คุณพูดว่าออสเตรเลียหรือออสเตรียนะ) 
นอกจากนี้ ยังสามารถใช้ประโยค Checking Information เมื่อเราไม่อยากจะเชื่อในสิ่งที่ได้ยินและต้องการฟังอีกครั้ง หรือต้องการแสดงความประหลาดใจ ได้อีกด้วยค่ะ
ตัวอย่าง ประโยค Checking Information อื่น ๆ เช่น
- Excuse me? (ขอโทษนะคะ/ครับ)
- I’m sorry? (ขอโทษนะคะ/ครับ)
- Did you say…? (คุณพูดว่า…ใช่ไหมคะ/ครับ)
- What did you say?  (คุณพูดว่าอะไรนะคะ/ครับ)
จากนั้นเมื่อคุณจอห์นฟังคุณแมรี่ไม่ทันว่าได้เห็นตัวอะไรที่ออสเตรเลีย ก็ถามว่า “I’m sorry, you saw a lot of what?” เราเรียกประโยคนี้ว่า “Echo” Questions หรือ คำถามสะท้อน กล่าวคือ คำถามทวนประโยคเดิม เพื่อเช็คข้อมูลค่ะ ซึ่งผู้พูดจะทวนประโยคที่ได้ยินและแทนที่ส่วนที่ไม่ได้ยินด้วยปุจฉาสรรพนาม โดยมากจะไว้ท้ายประโยค
เราสามารถใช้ปุจฉาสรรพนามอื่น ๆได้ เช่น where, what time, how much ฯลฯ ตัวอย่างเพิ่มเติมในการใช้ “Echo” Questions เช่น
A: My hometown is in Bangkok. (บ้านเกิดฉันอยู่ที่กรุงเทพฯ)
B: Excuse me? It’s where? (ขอโทษที ที่ไหนนะ)
A: The theater opens at 10:00. (โรงละครเปิดตอน 10 โมง)
B: I’m sorry, it opens at what time? (ฉันขอโทษ มันเปิดกี่โมงนะ)
A: The ticket costs 250 Baht. (ตั๋วราคา 250 บาทค่ะ)
B: I’m sorry, it costs how much? (ขอโทษนะคะ มันราคาเท่าไหร่นะคะ)
สุดท้ายนี้ ทุกท่านสามารถนำประโยค ประโยค Checking Information และ “Echo” Questions ไปลองใช้ในบทสนทนาดูนะคะ จะได้ใช้
ภาษาอังกฤษได้อย่างเหมาะสมและดูสุภาพค่ะ